เฉลยแบบทดสอบ

1. ก

2. ค

                                                                            3. ก

4. ง

5. ข

6. ข

7. ข

8. ค

9. ค

                                                                           10. ข

Posted in เฉลยแบบทดสอบ | Tagged | 1 Comment

แบบทดสอบ

คำสั่ง จงกาเครื่องหมาย X หน้าคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว

1. หน่วยที่เล็กที่สุดที่ประกอบขึ้นเป็นร่างกายมนุษย์คือ

ก. เซลล์                                                                 ข. อวัยวะ

ค. ระบบ                                                                  ง. ต่อมไร้ท่อ

2. ลักษณะการทำงานของอวัยวะที่ทำงานในลักษณะประสานสัมพันธ์กันเรียกว่า

ก. เซลล์                                                                 ข. อวัยวะ

ค. ระบบ                                                                 ง. กล้ามเนื้อ

3. ความรู้สึกร้อน หรือหนาว เป็นการทำงานของระบบใดในร่างกาย

ก. ระบบประสาท                                                ข. ระบบสืบพันธ์

ค. ระบบต่อมไร้ท่อ                                             ง. ระบบขับถ่าย

4. ระบบประสาทไม่ได้ทำหน้าที่ใด

ก. รับความรู้สึก                                                   ข. ควบคุมการทำงานของร่างกาย

ค. ทำงานประสานกับฮอร์โมน                              ง. ผลิตฮอร์โมน

5. ข้อใดไม่ใช่ส่วนประกอบของระบบประสาท

ก. สมอง                                                               ข. กล้ามเนื้อ

ค. เส้นประสาท                                                      ง. ไขสันหลัง

6. สมองส่วนหน้า (Forebrain) ทำหน้าที่ใด

ก. การเคลื่อนไหวของลูกตา                             ข. ความทรงจำ

ค. ควบคุมการทรงตัว                                        ง. ควบคุมการหายใจ

7. สมองส่วนกลาง (Midbrain) ทำหน้าที่ใด

ก. ความทรงจำ                                                     ข. การเคลื่อนไหวของลูกตา

ค. ควบคุมการหายใจ                                            ง. ควบคุมการทรงตัว

8. สมองส่วนใดควบคุมการเต้นของหัวใจ

ก. สมองส่วนหน้า                                              ข. สมองส่วนกลาง

ค. สมองส่วนท้าย                                              ง. ถูกทุกข้อ

9. ระบบประสาทซิมพาเทติก (Sympathetic Nerve)

ก. ควบคุ้มการเต้นของหัวใจ

ข. ควบคุมปฏิกิริยาตอบสนองสิ่งเร้าอย่างกะทันหัน

ค. ทำให้ร่างกายเตรียมพร้อมสำหรับเผชิญภาวะอันตราย

ง. ควบคุมการทำงานของระบบอวัยวะภายใน

10. เมื่อถูกของร้อนมือเราจะกระตุก เรียกปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นว่าอะไร

ก. ปฏิกิริยากระตุ้น

ข. ปฏิกิริยารีเฟล็กซ์

ค. ปฏิกิริยาลีเฟล็กซ์

ง. ปฏิกิริยาโอเฟล็กซ์

Posted in แบบทดสอบ | Tagged | Leave a comment

การดูแลรักษาระบบประสาท

ระบบประสาทเป็นระบบที่มีความสำคัญมาก ดังนั้นเราจึงควรมีการป้องกันและดูแลรักษาดังนี้

1. ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่จะมีผลกระทบบริเวณศีรษะ และไขสันหลัง เพราะอาจทำให้เป็น อัมพฤกษ์หรืออัมพาตได้ เช่น สวมหมวกนิรภัยขณะขับขี่รถจักรยานยนต์

2. หลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติดทุกชนิด และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะแอลกอฮอล์ เป็นสารเสพติดที่มีฤทธิ์กดประสาท เมื่อดื่มในปริมาณมากมีระยะเวลาต่อเนื่องกัน จะทำให้ระบบประสาทถูกทำลาย

3. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะอาหารที่มีวิตามินบี 1 สูง เช่นข้าวกล้อง เมล็ดทานตะวัน เป็นต้น

4. บำรุงและถนอมสายตา เช่น ทานผักที่บำรุงสายตา ไม่อ่านหนังสือในที่มืด เป็นต้น

5. พักผ่อนให้เพียงพอ และมีการผ่อนคลายความเครียด เช่น ดูหนัง ฟังเพลง เดินเล่น หรือทำ

กิจกรรมอื่น ๆ ที่ตนเองชื่นชอบ

6. ตรวจสายตา และการได้ยินรวมทั้งการทำงานของระบบประสาทอื่น ๆ เป็นระยะเพื่อสังเกตความผิดปกติ

7. หากมีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบประสาท เช่น ปวดศีรษะมาก อาเจียน และชาตามมือตามเท้าโดยไม่รู้สาเหตุ ควรรีบไปแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษา

Posted in การดูแลรักษาระบบประสาท | Tagged | Leave a comment

ไขสันหลัง

เป็นส่วนที่ต่อก้านสมองส่วนท้ายลงไปตามแนวช่องกระดูกสันหลัง ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมในการรับกระแสประสาทจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายส่งต่อไปยังสมอง และรับจากสมองส่งไปยังอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย นอกจากนี้ยังควบคุมปฏิกิริยาตอบสนองสิ่งเร้าอย่างกะทันหัน โดยไม่ต้องรอคำสั่งจากสมองหรือที่เรียกว่า ปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ (Reflex action) เช่น เมื่อเราไปถูกของร้อน คนเราจะกระตุกมือหนีทันที

Posted in ไขสันหลัง | Tagged | Leave a comment

ระบบประสาทอัตโนมัติ

เป็นระบบประสาทที่สำคัญในการควบคุมการทำงานของอวัยวะภายในของร่างกาย ดังนั้นความผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติจะทำให้เกิดโรคต่างๆขึ้นเป็นจำนวนมาก ระบบประสาทชนิดนี้ศูนย์กลางอยู่ภายในไขสันหลัง แกนสมอง และสมองส่วนฮัยโปธาลามัส โดยจะทำงานเป็นอิสระอยู่นอกเหนือการควบคุมของอำนาจจิตใจ ระบบประสาทอัตโนมัติทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะภายในของร่างกายให้อยู่ในสภาพปกติ ระบบประสาทอัตโนมัตินี้แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ระบบประสาทซิมพาเตติก และระบบประสาทพาราซิมพาเตติก

1. ระบบประสาทซิมพาเทติก (sympathetic nervous system) จะเริ่มต้นจากไขสันหลังส่วนอกที่ 1 จนถึงไขสันหลังส่วนเอวที่ 2 โดยมีศูนย์กลางอยู่ในไขสันหลัง ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์อยู่ในบริเวณด้านข้างของเนื้อสีเทาของไขสัน หลังจากศูนย์กลางจะมีเส้นใยประสาทไปสู่ปมประสาท ซึ่งจะอยู่ห่างจากอวัยวะที่ไปสู่ แต่จะมีเส้นทางประสาทแยกออกไปควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ดังกล่าว การเร้าประสาทซิมพาเตติกจะทำให้ร่างกายเตรียมพร้อมสำหรับเผชิญอันตรายหรือภาวะฉุกเฉิน

2. ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (parasympathetic nervous system) จะออกจากระบบประสาทส่วนกลาง โดยผ่านร่วมไปกับเส้นประสาทสมองบางเส้น และประสาทไขสันหลังส่วนกระเบนเหน็บ ใยประสาทพาราซิมพาเตติกมากกว่าร้อยละ 80 อยู่ในเส้นประสาทเวกัส ซึ่งไปเลี้ยงบริเวณช่องอกและช่องท้อง เป็นระบบประสาทที่ทำหน้าที่ควบคุมการสะสมพลังงาน ควบคุมระดับการทำงานของอวัยวะภายใน หลอดเลือดส่วนต่างๆ ให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะทำงานได้

ระบบประสาททั้งสองระบบนี้จะทำงานร่วมกัน เพื่อการรักษาความสมดุลของร่างกายให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติ

7

Posted in ระบบประสาทอัตโนมัติ | Tagged | Leave a comment

ระบบประสาทส่วนปลาย

ประกอบไปด้วย เส้นประสาทสมอง เส้นประสาทไขสันหลัง ทำหน้าที่นำความรู้สึกจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลางและส่งกลับไปยังอวัยวะต่าง ๆ

1. เส้นประสาท มี 12 คู่ ทอดมาจากสมองผ่านรูต่าง ๆ ของกะโหลกศีรษะ

คู่ที่ 1 เส้นประสาทออลแฟกทอรี (olfactory nerve) รับความรู้สึกเกี่ยวกับกลิ่นจากเยื่อจมูกเข้าสู่ออลแฟกเทอรีบัลบ์(olfactory bulb) แล้วเข้าสู่ออลแฟเทอรีโลบ(olfactory lobe) ของสมองส่วนซีรีบรัมอีกทีหนึ่ง

คู่ที่ 2 เส้นประสาทออพติก (optic nerve) รับความรู้สึกเกี่ยวกับการมองเห็นจากเรตินาของลูกตาเข้าสู่ออพติกโลบ (optic lobe) แล้วส่งไปยังออกซิพิทัลโลบ(occipital lobe) ของซีรีบรัมอีกทีหนึ่ง

คู่ที่ 3 เส้นประสาทออคิวโลมอเตอร์ (oculomotor nerve) เป็นเส้นประสาทสั่งการจากสมองส่วนกลางไปยังกล้ามเนื้อลูกตา 4 มัด ทำให้ลูกตาเคลื่อนไหวกลอกตาไปมาได้ และยังไปเลี้ยงกล้ามเนื้อที่ทำให้ลืมตา ทำให้ม่านตาหรี่หรือขยายและไปยังกล้ามเนื้อปรับเลนส์ตาอีกด้วย

คู่ที่ 4 เส้นประสาททรอเคลีย (trochlea nerve) เป็นเส้นประสาทสั่งการไปยังกล้ามเนื้อลูกตาทำให้ลูกตามองลงและมองไปทางหางตา

คู่ที่ 5 เส้นประสาทไตรเจอมินัล (trigerminal nerve) แบ่งออกเป็น 3 แขนง ทำหน้าที่รับความรู้สึกจากใบหน้า ลิ้นฟัน ปากเหงือก กลับเข้าสู่สมองส่วนพาเรียทัลโลบ ทำหน้าที่สั่งการไปควบคุมกล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับการเคี้ยวอาหาร

คู่ที่ 6 เส้นประสทแอบดิวเซนส์ (abducens nerve) เป็นเส้นประสาทสั่งการออกจากพอนส์ไปยังกล้ามเนื้อลูกตาทำให้เกิดการชำเลือง

คู่ที่ 7 เส้นประสาทเฟเชียล(facial nerve) เป็นเส้นประสาทที่สั่งการไปยังกล้ามเนื้อหน้าทำให้เกิดสีหน้าต่างๆกัน และยังเป็นเส้นประสาทรับความรู้สึกรับรสจากปลายลิ้นเข้าสู่ซีรีบรัมส่วนพาเรียทัลโลบด้วย

คู่ที่ 8 เส้นประสาทออดิทอรี(auditoty nerve) เส้นประสาทรับความรู้สึกแยกเป็น 2 แขนง แขนงหนึ่งจากคอเคลียของหูทำหน้าที่เกี่ยวกับการได้ยินเข้าสู่ซีรีบรัมส่วนเทมพอรัลโลบอีกแขนงหนึ่งนำความรู้สึกเกี่ยวกับการทรงตัวจากเซมิเซอร์คิวลาร์แคแนล เข้าสู่ซีรีบรัม

คู่ที่ 9 เส้นประสาทกลอสโซฟารินเจียล (glossopharyngeal nerve) เป็นประสาทรับความรู้สึกจากช่องคอ เช่น ร้อน เย็น และรับรสจากโคนลิ้นเข้าสู่ซีรีบรัม ส่วนพาเรียทัลโลบและนำกระแสประสาทสั่งการจากสมองไปยังกล้ามเนื้อบริเวณคอหอยที่เกี่ยวกับการกลืน และต่อมน้ำลายให้หูให้หลั่งน้ำลาย

คู่ที่ 10 เส้นประสารทเวกัส (vegus nerve) เป็นเส้นประสาทรับความรู้สึกจากลำคอ กล่องเสียง ช่องอก ช่องท้อง ส่วนเล้นประสาทสั่งการจะออกจากเมดัลลาออบลองกาตา ไปยังกล้ามเนื้อลำคอ กล่องเสียง อวัยวะภายในช่องปาก และช่องท้อง

คู่ที่ 11 เส้นประสาทแอกเซสซอรี (accessory nerve) เป็นเส้นประสาทสั่งการจากเมดัลลาออบลองกาตาและไขสันหลังไปยังกล้ามเนื้อคอ ช่วยในการเอียงคอและยกไหล่

คู่ที่ 12 เส้นประสาทไฮโพกลอสวัล(hypoglossal nerve) เป็นเส้นประสาทสั่งการไปยังกล้ามเนื้อลิ้นทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของลิ้น

 6

 

2. เส้นประสาทไขสันหลัง (spinal nerve) มี 31 คู่ เป็นเส้นประสาทที่แตกออกมาจากไขสันหลัง เส้นประสาททุกคู่เป็นเส้นประสาทรวม คือ ทำหน้าที่รับความรู้สึก และรับรู้เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว เส้นประสาทไขสันหลังจะเป็นระบบประสาทที่อยู่นอกอำนาจจิตใจ ทำหน้าที่ควบคุมอวัยวะต่าง ๆ ที่ทำงานได้ด้วยตนเอง เช่น การเต้นของหัวใจ การเคลื่อนไหวของอวัยวะภายในเส้นประสาทที่แยกออกจากไขสันหลังมีทั้งหมด 31 คู่ เป็นเส้นประสาทประสม (mixed never) แบ่งออกเป็นทั้งหมด 5บริเวณดังนี้

– เส้นประสาทบริเวณคอ (cervical never) 8 คู่

– เส้นประสาทบริเวณอก (thoracal never) 12 คู่

– เส้นประสาทบริเวณเอว (lumbar never) 5 คู่

– เส้นประสาทบริเวณกระเบนเหน็บ (sacral never) 5 คู่

– เส้นประสาทบริเวณก้นกบ (coccygeal never) 1 คู่

เส้นประสาทที่ไขสันหลังไปเลี้ยงแขนและขาจะมีความยาวมากกว่าไปเลี้ยงลำตัว

ไขสันหลัง

Posted in ระบบประสาทส่วนปลาย | Tagged | Leave a comment

ระบบประสาทส่วนกลาง

ประกอบด้วยสมอง และไขสันหลัง เป็นศูนย์กลางควบคุม และประสานการทำงานของร่างกายทั้งหมด

สมอง (Brain)

สมองคนเรา แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ สมองส่วนหน้า สมองส่วนกลางและสมองส่วนหลัง
สมองแต่ละส่วนมีการควบคุมการทำงานของร่างกายแตกต่างกัน ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้

1. สมองส่วนหน้า (forebrain) ประกอบด้วย เซรีบรัม (cerebrum) ไฮโปทาลามัส (hypothalamus) ทาลามัส (thalamus)

· เซรีบรัม (cerebrum) เป็นสมองที่มีการเจริญเปลี่ยนแปลงมากที่สุดและมีขนาดใหญ่โตมากที่สุด มีเชลล์ประสาทมาก ความฉลาดของสัตว์ขึ้นอยู่กับจำนวนเชลล์สมอง มีหน้าที่การทำงานเกี่ยวกับ ความคิดความจำ เชาวน์ปัญญา ศูนย์กลางควบคุม การทำงานด้านต่างๆ การสัมผัส การพูด การมองเห็น รับรส การไดยิน การดมกลิ่น การทำงานของกล้ามเนื้อ

· ไฮโปทาลามัส (hypotalamus) เป็นสมองส่วนที่มีขนาดเล็ก เป็นบริเวณที่สำคัญในการควบคุมขบวนการต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ควบคุมการทำงานของร่างกาย ควบคุมการเต้นของหัวใจ ควบคุมการทำงานพื้นฐานของร่างกาย เช่น น้ำ อาหาร ความต้องการทางเพศ สร้างฮอร์โมนประสาทมาควบคุมการหลั่งฮอร์โมนของต่อมใต้สมองส่วนหน้า

· ทาลามัส (thalamus ) เป็นส่วนที่อยู่ห่างจากซีรีบรัม ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวบรวมกระแสประสาทที่ผ่านเข้าออกและแยกกระแสประสาทไปยังสมองที่เกี่ยวกับกระแสประสาทนั้น

2. สมองส่วนกลาง เป็นสมองส่วนที่เล็ก เพราะถูกส่วนอื่น ๆ บดบังไว้ มีหน้าที่ถ่ายทอดกระเเสประสาทจากสมองส่วนท้ายไปยังซีรีบรัม ส่วนบนจะพูออกเป็นู 4 พู เรียกการพัฒนาลดรูปที่เหลืออยู่นี้ว่าออพติกโลบ (optic lobe) โดยมีเส้นประสาทเเยกไปยังลูกตาทั้งสองข้าง

ออพติกโลบ (optic lobe)ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของนัยน์ตา ทำให้ลูกนัยน์ตากลอกไปมาได้ควบคุมการปิดเปิดของรูม่านตาในเวลาที่มี่แสงสว่างเข้ามากและน้อย

 

3. สมองส่วนท้าย ประกอบด้วยเซรีเบลลัม (cerebellum) เมดัลลาออบลองกาตา (medulla oblongata) และพอนส์ (pons)

·เซรีเบลลัม (cerebellum) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ชั้น ชั้นนอกเรียกว่า คอร์เทกซ์ (cortex) มีสีเทา ชั้นในมีสีขาวแตกกิ่งก้านสาขาคล้ายกิ่งไม้ ทำหน้าที่ประสานการเคลื่อนไหวของร่างกาย ให้สามารถทำงานได้อย่างละเอียดอ่อน ควบคุมการทรงตัวของร่างกาย

·พอนส์ (pons) อยู่ทางด้ายหลังของเซรีบรัม ประกอบด้วยมัดของแทบประสาทเป็นทางผ่านของกระเเสประสาทระหว่างซีรีบรัมเเละซีรีเบลลัม ทำหน้าที่ควบคุมการเคี้ยว การหลั่งน้ำลาย การเคลื่อนไหวของใบหน้า ควบคุมการหายใจเป็นทางผ่านของกระแสประสาทระหว่างเซรีบรัมกับเซรีเบลลัม และเซรีเบลรัมกับไขสันหลัง

·เมดัลลาออบลองกาตา (medulla oblongata) เป็นส่วนสุดท้ายของสมองต่อจากพอนส์ ตอนปลายติดกับไขสันหลัง สมองส่วนนี้มีการเปลี่ยนรูปร่างจากเดิมน้อยที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับสมองส่วนอื่นๆ ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติติ เป็นทางผ่านของกระเเสประสาท
ระหว่างสมองกับไขสันหลัง ควบคุมการเต้นของหัวใจ การหายใจ ความดันเลือด การกลืน การจาม
การสะอึก การอาเจียน

5.1

Posted in ระบบประสาทส่วนกลาง | Tagged | Leave a comment

ระบบประสาท

ระบบประสาท ประกอบด้วยสมอง และไขสันหลัง และเส้นประสาทในร่างกาย ทุกองค์ประกอบจะทำหน้าที่รวมกันในการรับความรู้สึกของอวัยวะต่าง ๆ และตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม ได้แก่ รู้สึกหนาว ร้อน อึดอัด หรือ สบายเป็นต้น ระบบประสาทแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ระบบประสาทส่วนกลาง ระบบประสาทส่วนปลาย และระบบประสาทอัตโนมัติ โครงสร้างของสมองแบ่งเป็น 3 ส่วนได้แก่ สมองส่วนหน้า สมองส่วนกลางและสมองส่วนหลัง ทั้งสมองและไขสันหลังมีเนื้อหุ้ม 3 ชั้น คือชั้นนอกสุดมีลักษณะหนาเหนียว และแข็งแรง ทำหน้าที่ป้องกันการกระทบกระเทือนแก่ส่วนที่เป็นเนื้อสมองและไขสันหลัง

ส่วนชั้นกลางเป็นเยื่อบาง ๆ ส่วนชั้นในสุดแนบสนิทไปตามรอยโค้งเว้าของสมองและไขสันหลัง จึงมีหลอดเลือดมาหล่อเลี้ยงอยู่มาก เพื่อนำสารอาหารและออกซิเจนมาเลี้ยงเซลล์ของสมองและไขสันหลังระหว่างเยื่อหุ้มสมอง ชั้นกลางกับชั้นในเป็นที่อยู่ของน้ำเลี้ยงสมองและไขสันหลัง(cerebrospinal fluid) ซึ่งช่องนี้มีทางติดต่อกับช่องตามยาวซึ่งติดต่อกับช่องภายในไขสันหลังและโพรงภายในสมองน้ำเลี้ยงสมองและไขสันหลังมีหน้าที่นำออกซิเจนและสารอาหารมาหล่อเลี้ยงเซลล์ประสาทและนำของเสียออกจากเซลล์

ระบบประสาท

Posted in ระบบประสาท | Tagged | Leave a comment

การทำงานของระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อ

การทำงานของแต่ละระบบจะทำหน้าที่แตกต่างกันไป แต่ทุกระบบจะมีการทำงานเกี่ยวข้องประสานสัมพันธ์กัน ดังนั้นระบบการทำงานของอวัยวะในร่างกายทุกระบบจึงมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตมนุษย์ทั้งสิ้น

 

 

images

Posted in การทำงานของระบบประสาท | Tagged | Leave a comment

ระบบการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย

อวัยวะของร่างกายนั้นมีมากมาย ทั้งอวัยวะที่เรามองเห็นและอวัยวะที่เรามองไม่เห็น อวัยวะที่เรามองเห็นส่วนใหญ่อยู่ภายนอกร่างกาย เช่น ปาก จมูก แขน ขา มือ เท้า อวัยวะที่เรามองไม่เห็นจะอยู่ภายในร่างกาย เช่น สมอง หัวใจ ลำไส้ และต่อมต่าง ๆ ในร่างกาย

ระบบการทำงานของร่างกาย ประกอบด้วยโครงสร้างที่สลับซับซ้อน จำแนกได้ 10 ระบบคือ

1. ระบบผิวหนัง

2. ระบบโครงกระดูก

3. ระบบกล้ามเนื้อ

4. ระบบย่อยอาหาร

5. ระบบขับถ่ายปัสสาวะ

6. ระบบหายใจ

7. ระบบไหลเวียนเลือด

8. ระบบประสาท

9. ระบบสืบพันธ์

10. ระบบต่อไร้ท่อ

Posted in ระบบการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย | Tagged | Leave a comment